1.ความเกี่ยวเนื่อง: ถ้าคุณจัดคำศัพท์ออกเป็นหมวดหมู่ขึ้นอยู่กับความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันระหว่างศัพท์แล้วเขียนออกมาเป็นแผนผังจะทำให้คุณจำคำศัพท์ได้ง่ายขึ้น
2.เขียน: การ
นำคำศัพท์นั้นมาใช้จะทำให้คุณจำได้ฝังใจยิ่งขึ้น
ลองเขียนแต่งประโยคโดยนำศัพท์ใหม่ที่เรียนนั้นมาประกอบหรือแต่งเรื่องโดยใช้
กลุ่มคำ
ศัพท์หรือสำนวนที่เรียนอยู่
3.วาดรูป: ดึงวิญญาณศิลปินในตัวคุณออกมาใช้ โดยการวาดรูปที่แสดงถึงศัพท์ที่คุณเรียนอยู่ ภาพที่คุณวาดจะช่วยกระตุ้นความ
ทรงจำถึงศัพท์นั้นในอนาคต
4.แสดง: แสดงท่าทางประกอบคำศัพท์หรือสำนวนที่คุณกำลังเรียนอยู่ หรือจินตนาการว่าคุณจะแสดงออกอย่างไรในสถานการณ์ที่คุณต้องใช้ศัพท์คำนั้น
5.สร้าง: ออก
แบบ flashcards
ศัพท์ภาษาอังกฤษพร้อมความหมายแล้วเปิดอ่านหรือท่องในยามว่าง
ทำเล่มใหม่ขึ้นทุกอาทิตย์และอย่าลืมทบทวนอันเก่าไปพร้อมๆ กันด้วย
6.ความสัมพันธ์: กำหนดแต่ละสีให้แต่ละคำศัพท์ ความสัมพันธ์ของแต่ละคู่จะช่วยให้คุณจำศัพท์นั้นได้แม่นขึ้นเมื่อนึกถึงคำนั้นในคราวต่อไป
7.ฟัง: นึกถึงศัพท์คำอื่นที่ออกเสียงคล้ายๆ กับคำศัพท์ใหม่ที่พยายามเรียนอยู่ ใช้ความสัมพันธ์ตรงจุดนี้ในการช่วยให้คุณจำการออกเสียงของคำใหม่นั้น
8.เลือก: จำ
ไว้ว่าการเรียนในหัวข้อที่คุณชอบหรือสนใจจะทำให้คุณรู้สึกว่ามันง่ายขึ้น
ฉะนั้นคุณควรใส่ใจในการเลือกคำศัพท์ที่คุณคิดว่ามีประโยชน์หรือน่าสนใจ
เพราะแม้แต่กระบวนการเลือกคำที่จะเรียนก็มีผลให้คุณจำได้แม่นและเร็วขึ้น
ด้วยเช่นกัน !
9.ข้อจำกัด: คุณ
ก็รู้ว่ามันเป็นไปไม่ได้หรอกที่คนเราจะจำศัพท์ที่มีอยู่ในดิกชันนารี่ทั้ง
หมดได้ในวันเดียว เพราะฉะนั้นจำกัดการเรียนศัพท์ใหม่แค่วันละ 15 คำก็พอแล้ว
ซึ่งถ้าพยายามจำให้มากคำเกินไปกว่านี้แทนที่มันจะทำให้คุณรู้สึกมั่นใจกลับ
จะทำให้คุณสมองตื้อแทน
10.สังเกต: พยายามสังเกตหาคำศัพท์ที่คุณกำลังเรียนอยู่เมื่ออ่านหรือฟังภาษาอังกฤษ
11.ยอมรับความจริง ไม่
มีใครพูดภาษาที่สองได้ตั้งแต่เกิด
ทุกคนต้องใช้เวลาในการเรียนรู้กันทั้งนั้น
ฉะนั้นอย่าคาดหวังว่าจะต้องเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่เริ่มต้น
12.เรียนรู้ทีละนิด จาก
การศึกษาพบว่า การทบทวนเป็นระยะเวลาสั้นๆ อย่างเช่น ในระหว่างทานอาหารเช้า
ในขณะอาบน้ำ หรือในขณะเดินทาง จะส่งผลให้คุณจดจำได้ดีกว่า
13.ท่องศัพท์ ยิ่ง
คุณรู้ศัพท์มากเท่าไหร่ คุณก็สามารถพูดและเข้าใจได้มากขึ้นเท่านั้น
เทคนิคในการจดจำคำศัพท์ คือ พกการ์ดใบเล็กๆที่เขียนคำศัพท์
(ที่มีคำแปลอยู่ด้านหลัง) ไปกับคุณทุกที่
14.ฝึกหัดอย่างจริงจัง อย่าแค่ทำปากขมุบขมิบหรือท่องเอาไว้ใสใจ พูดหรืออ่านออกมาดังๆ ในทุกครั้งที่มีโอกาส เพื่อจะได้ฝึกปากของคุณให้เคยชินกับการออกเสียง
15.ทำการบ้าน การทำการบ้านคือการฝึกฝนทักษะการใช้ภาษาให้เป็นไปอย่างแม่นยำ จนกลายเป็ความชำนาญ และสามารถทำออกมาได้อย่างอัตโนมัติในที่สุด
16. จับกลุ่มเรียน หา
เวลาทบทวน ทำการบ้าน หรือแค่ฝึกพูดภาษานั้นๆ กับเพื่อนๆ เป็นประจำ
ซึ่งจะช่วยแก้ไขข้อบกพร่องให้กันและกันได้
แถมยังทำคุณจดจำได้แม่นยำยิ่งขึ้นด้วย
17.หาจุดอ่อน คุณ
ควรหาจุดอ่อนในการเรียนของตัวเองให้เจอ
เพื่อที่จะได้เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ อย่างเช่น ถ้าคุณเป็นคนเงียบๆ
และไม่ค่อยมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
ก็บังคับตัวเองให้เลือกที่นั่งแถวหน้าในห้องเรียนซะ
18.หาโอกาสในการใช้ภาษา เพื่อ
สร้างความคุ้นเคยกับภาษานั้นๆ ให้ได้มากที่สุด
ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยกับเจ้าของภาษาเช่าหนังที่พูดภาษานั้นๆ
มาดูหรือแม้กระทั่งหาแฟนที่เป็นเจ้าของภาษานั้นซะเลย
19. ทุ่มความสนใจ พูด
ง่ายๆ ก็คือ หายใจเข้าออกก็ให้เป็นภาษานั้น เรียนรู้ภาษานั้นๆ
ทั้งในและนอกห้องเรียนอย่างจริงจังและเต็มที่ถึงขนาดถึงขนาดถ้าฝันได้ก็อาจ
ฝันเป็นภาษานั้นๆ ด้วย
20. ปรึกษาผู้รู้ ถ้า
มีปัญหาหรือติดขัดอะไร ก็ต้องสอบถามครูผู้สอนหรือเจ้าของภาษานั้นทันที
เพื่อทำลายกำแพงที่เป็นอุปสรรคในการเรียนออกไปให้เร็วที่สุด
คุณจะได้ไม่ต้องสะดุดอยู่นานเกินไปซึ่งนั้นอาจทำให้คุณเกิดความเบื่อหน่าย
ได้