GRAPHIC DESINGER

วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่2 หน้าจอหลัก

หลังจากบทที่แล้ว เราได้ทำความรู้จักกับความหมายของ vector กันแล้ว
คราวนี้เรามาทำความรู้จักกับหน้าตาของโปรแกรมกันครับ
corelDRAW เวอร์ชั่นที่ผมใช้อยู่เป็น เวอร์ชั่น X3 ครับ
ล่าสุดตอนนี้ เป็น X4แล้วนะครับ หุหุ
แต่ผมก็ยังไม่ใช้นะครับ รอมีเงินซื้อเครื่องใหม่ก่อนค่อยว่ากัน แหะๆ
 
------------------------------------------------------------------------------------
ก่อนที่จะเริ่ม howto ครั้งนี้ คุณมีโปรแกรม corelDRAW หรือยัง?
ถ้ายัง....แนะนำให้ ไปซื้อตามห้างที่มีแผนก IT ครับ ดีที่สุด เพราะจะได้ตัวเต็ม
มาเลย หรือไปโหลด trial มาลองก็ได้ครับ
-------------------------------------------------------------------------------------
 
เอาละ เริ่มกันได้เลย
เรามาทำความรู้จักหน้าตา หน้าหลักเมื่อเราเปิดโปรแกรมกันครับ
(ชื่อแท๊บต่างๆ ชื่อจริงๆ มันเรียกกว่าอะไรไม่รู้นะครับ ผมเรียกตามใจผมครับ)

ผมจะทำแถบสีไว้ แยกส่วนประกอบเป็น 8ส่วนนะครับ จะได้เห็นกันชัดๆ
ส่วนที่1 (สีขาว)
พื้นที่การทำงาน

พื้นที่การทำงานครับ โดยเราสามารถเปลี่ยนขนาดได้ตามใจ โดยทางโปรแกรม
จะมีให้เลือกไว้หลายขนาด หรือเราจะกำหนดเองก็ได้ครับ นอกจากนี้ พื้นที่นอก
พื้นที่การทำงาน(พื้นที่การทำงานจะอยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยม ที่จำลองจากขนาด
กระดาษที่เราเลือก) ก็สามารถวาดรูปลงไปได้นะครับ พูดง่ายๆ คือทำงานนอกกรอบได้
 
 
ส่วนที่2 (สีแดง)
แท็บหลัก

จะไม่เปลี่ยนแปลงใดๆ ทั้งสิ้น โดยคำสั่งหลักๆ จะอยู่ใน
แท็บนี้ทั้งหมดครับ โดยหน้าตาก็จะเหมือนโปรแกรมทั่วๆ ไป
 
ส่วนที่3 (สีเหลือง)
แท็บสถานะ

จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ แล้วแต่ว่าตอนนั้นเราอยู่ในการทำงานสถานะไหน
อย่างถ้าเรา พึ่งเริ่มงาน หรือคลิ๊กตรงพื้นที่ว่าง มันก็จะเป็นแถบสถานะ
ของพื้นที่การทำงาน ซึ่งเราจะสามารถเปลี่ยนขนาดของพื้นที่การทำงาน
ได้จากตรงนี้ และสามารถกำหนดสถานะอื่นๆ ได้(เฉพาะของหน้ากระดาษ)
หรือถ้าเรา คลิ๊กที่ object ที่เราทำงานอยู่ อย่างรูปสี่เหลี่ยม ก็จะเป็น
สถานะของobject นั้น โดยเราสามารถกำหนดสถานะของรูปสี่เหลี่ยมนั้นได้
เช่นการกำหนดให้รูปสี่เหลี่ยมนั้นเป็นขอบมน กำหนดขนาดเส้น สี
 
ส่วนที่4 (สีเขียว)
แท็บช็อตคัด

เป็นเท็บช็อตคัดที่เรากำหนดครับ จะเห็นได้ตามโปรแกรมอื่นๆ ก็จะมีคล้ายๆ กัน
เรียงตามลำดับจากซ้ายไปขวาเลยนะครับ
สร้างไฟล์ใหม่>เปิดไฟล์>เซฟ>ปริ้น>ตัด>ก็อป>แปะ>undo>redo>
import>export>ไม่รู้(รูปจรวดอะ)>ไม่รู้(รูปตาข่าย)>ภาพรวมการมองเห็น(ก็ ขนาดอะ
มองภาพ100% 200 300 ประมาณนี้)
 
ส่วนที่5 (สีฟ้า)
แท็บเครื่องมือ
  เครื่องมือหลักในการทำงานเลย สำคัญที่สุด แท็บนี้ผมจะมาอธิบายเจาะลึกในครั้งหน้า
นะครับ
 
แท็บที่6 (สีน้ำตาล)
แท็บสี
แท็บสีครับ เราสามารถเพิ่มได้ เพราะ corel จะมีโปรไฟล์สีหลายแบบครับ
หรือเราจะสร้างแท็บสีของเราเองก็ได้ครับ วิธีเพิ่ม ก็เข้าไปที่แท็บหลักหัวข้อ window
แล้วเลือก collor palettes เข้าไปคลิ๊กเลือกได้เลยครับ
 
แท็บที่7 (สีม่วง)
แท็บหน้ากระดาษ

ตรงนี้จะบอกสถานะการทำงานของเราครับ ว่าทำงานอยู่หน้าไหน โดยเราสามารถ
เพิ่มหน้า ลดหน้า ตั้งชื่อหน้าได้จากตรงนี้ครับ
 
แท็บที่8 (สีชมพู)
แท็บข้อมูล

โดยทางด้านซ้ายจะบอกพิกัด(งาน) ซึ่งตัวผมไม่เคยได้ดูหรอกครับ แล้วกลางๆ ก็จะมีข้อมูล
แนะนำนิดหน่อย(ไม่เคยอ่านเหมือนกัน) แต่ตรงด้านขาวนี่สำคัญครับ
จะบอกสีของ object กับสีเส้น สำหรับผม สำคัญครับ ถ้าใช้สีหลายๆ สีมีงงครับ ก็อาศัยตรงนี้
ดูแหละครับว่า object นี้ เราใช้สีอะไรไป
 
พื้นที่การทำงานหลักๆ ก็จะมีอยู่เท่านี้นะครับ มีข้อสงสัยตรงไหน ถามได้ครับ ตอบเท่าที่รู้นะครับ
อย่างที่บอก ตัวผมเองก็ใช้งานโปรแกรมนี้ได้ไม่ถึง 40%
เรามาเป็น corel lover กันเตอะ!!
คราวหน้าเราจะมาเริ่มเจาะกันแล้วครับ โดยคราวหน้าจะเจาะการใช้งานของแท็บเครื่องมือกันครับ
------------------------------------------------------------------------------
บทที่1 มาทำความรู้จักกับ vector

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น