GRAPHIC DESINGER

วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2554

เบื้องต้นกับ Equalizer (EQ)

Equalizer (EQ)
Equalizer คือ  การปรับความถี่ของเสียงโดยละเอียด  เช่น  ทุ้ม  กลาง  แหม แต่ EQ จะละเอียดมากกว่าเพราะปรับได้แต่ละความถี่ของเสียงที่ต้องการ
Equalizer  ประกอบด้วย
1.    Frequency คือ  ความถี่ที่จะปรับแต่ง
2.   Gain  คือ  ความดังของถวามถี่นั้นๆ
3.   Q  คือ  ค่าที่ใช้กำหนดความกว้างของช่วงความถี่เสียง

ในข้อ 1 และ ข้อ 2 คงจะเข้าใจ แต่ในข้อ 3 ซึ่งเกี่ยวกับ band width โดยตรง ถ้าจะกล่าวคงจะยาว  แต่อธิบ่ายย่อๆ ในตอนหลัง
Equalizer  แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
1.   Graphic Equalizer 
2.   Parametric Equalizer

Graphic Equalizer  วิธีการปรับจะแบ่งเป็นความถี่นั้นๆ ที่ต้องการส่วนใหญ่มีประมาณ 31 ความถี่  เช่น  ถ้าเราต้องการความถี่ที่ 5oo Hz.  จะปรับขึ้นหรือลงก็แล้วแต่  เราก็ cut หรือ boost ที่ปุ่ม 500 Hz. ได้เลยโดยที่ความถี่ข้างเคียงไม่ว่าจะเกิน 500 Hz. หรือต่ำกว่า 500 Hz. สัญญาณความถี่ที่ cut หรือ boost จะไม่เกี่ยวข้อง
Parametric Equalizer  วิธีการปรับเหมือนกับ Graphic Equalizer เพียงแต่ความถี่ข้างเคียง  เช่น  ความถี่ 500 Hz. ในด้านความถี่สูงกว่า 500 Hz. หรือต่ำกว่า 500 Hz. จะขยับขึ้นตาม  ถ้าดูตามเส้นกราฟแล้วคล้ายกับรูปชามคว่ำ
ไม่ว่าจะเป็น Graphic Equalizer or Parametric Equalizer จะแบ่งออกเป็น 2 แบบตาม Octave คือ 1/3 Octave (One third) หรือ 2/3 Octave (Two third)

Equalizer (EQ) ใช้ประโยชน์อย่างไร
เรา จะต้องมานึกถึงคำว่า room acoustic flat เข้ามาเกี่ยวข้องคือ  การแก้ room acoustic  ของห้องฟังนั้นๆ ให้มีสภาพเป็นกลาง ไม่ cut หรือ boost ความถี่ใดความถี่หนึ่งจนเกินความเป็นกลาง (flat) เพื่อที่จะได้เสียงของมาชัดเจนและเป็นบุคลิกของเพลงที่เราฟังแต่ละเพลงซึ่ง ไม่เหมือนกัน  การทำ  room acoustic flat  ส่วนใหญ่จะใช้ทำในห้องบันทึกเสียง  เพื่อต้องการถ่ายทอดจุดประสงค์ของนักดนตรีที่ต้องการบุคลิกของเสียงนั้นๆ ตามความต้องการของนักดนตรีผู้นั้น  โดยที่มิได้ผิดเพี้ยนจากสาเหตุ acoustic ของห้องที่ไม่เป็นกลาง (flat)  และการปรับ Equalizer เพื่อทำ room acoustic flat  ของห้องบันทึกเสียงนั้นจะใช้การปรับครั้งเดียวให้ได้ผลที่ดีที่สุดตามที่ ต้องการจากนั้นก็ไม่ต้องไปปรับอีกเลย    ฉะนั้นถ้าเราต้องการฟังเสียงเพลงเพื่อให้ได้รับความเป็นกลางของบุคลิกเพลง นั้นๆ เราควรจะทำห้องที่เราใช้ฟังเพลงอยู่ให้เป็นกลางให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  อีกประการหนึ่งการทำ room acoustic flat นั้น  ทำให้เราได้ยินเสียงเพลงที่ clear ฟังสบาย  ไม่อึดอัด  ครบทุกๆ ความถี่ที่มีในเพลงนั้นๆ   

ที นี้การปรับ Equalizer ให้ได้ผล 100% มากที่สุด  เราจะต้องมีเครื่องมือที่เรียกว่า Spectem Analyzer  เข้ามาเกี่ยวข้อง  วิธีการก็คือจะต้องใช้สัญญาณ sound generator ที่เรียกว่า พิงค์นอยส์ (pink noise) เอาสัญญาณออกลำโพง  แล้วจะมีไมโครโฟนที่เป็นกลางมารับสัญญาณนั้นเพื่อขยายสัญญาณออกทางจอ มอนิเตอร์  เราจะเห็นความถี่ทางจอมอนิเตอร์ออกมาเป็นสูงๆ ต่ำๆ ซึ่งความถี่ดังกล่าวนั้นจะปรับให้เสมอกันโดยใช้ Equalizer ปรับแต่ละความถี่
  
    นี่คือการทำ room acoustic flat สำหรับห้องบันทึกเสียงหรือห้องฟังต่างๆ ผมเคยนำมาทดลองปรับในรถยนต์  โดยใช้ Equalizer one third 16 brand หรือ 16 ความถี่  ปรากฏว่าได้ผลเกือบ 100%  แต่ที่ไม่ถึง 100% เพราะในรถยนต์นั้นจะมีกระจกหน้าต่าง ซึ่งเราไม่สามารถทำแผ่นกันสะท้อนของเสียงได้  แต่ก็นับว่าเสียงที่ได้ยินจากเพลงที่เคยฟังประจำต่างกันราวฟ้ากับดิน  แต่ที่ไม่สามารถนำมาใช้ได้เพราะ Equalizer ที่นำใส่คุณภาพต่ำเกินไป  จะมีเสียงประหลาดๆ เช่น เสียงจิ้งหรีด หรือ noise ที่กวนมากับกระแสหรือสายสัญญาณต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วนี้ได้กล่าวถึงวิธีการทำ room acoustic อย่างย่อๆ ซึ่งในปัจจุบันนี้ Equalizer ที่ใช้ในรถยนต์ที่ติดมากับวิทยุยี่ห้อต่างๆ ส่วนใหญ่จะมีความถี่ไม่เกิน  5 ความถี่  ส่วน Equalizer แยกที่มีหลายๆ ความถี่ก็เลิกใช้กันไป   ตามที่ได้กล่าวมาแต่ต้นว่า Equalizer สามารถ cut หรือ boost ได้ และ Equalizer ในรถยนต์ที่มีความถี่ที่ปรับได้น้อยๆ นั้น (ไม่เกิน 5 ความถี่) ส่วนใหญ่จะเป็น  parametric Equalizer เพราะเวลาปรับจะมีความถี่ข้างเคียงขึ้นมาด้วย  ทั้งนี้เพื่อจะลดจำนวนความถี่แต่ละช่องในการปรับเหมือนเราขีดเส้นตามแนวนอน 1 เส้น แล้วมีเส้นโค้งคล้ายกับรูปชามคว่ำ
เรา ต้องคิดว่าทำอย่างไรให้รูปชามคว่ำนั้นเป็นเส้นตรงให้มากที่สุดทุกความถี่   คราวนี้ก็ต้องอาศัย หู  กันละงานนี้เพราะเราไม่มี Spectem Analyzer ที่จะมาทำให้ room acoustic ในการฟังนั้นสมบูรณ์ได้ 100% พูดง่ายๆ คือไม่มีเครื่องมือนั่นแหละ!!!
แต่มีวิธีการปรับ Equalizer ในรถยนต์ง่ายๆ คือ 
1.   ปรับ Equalizer ให้ flat ทั้งหมดอยู่ที่ 0 dB
2.   ลดเสียงย่านความถี่กลางต่ำ – ต่ำ จนสุด  อาจจะเป็น -12 dB หรือมากกว่านั้น มีเท่าไรลดจนหมด
3.   ปรับความถี่เสียงกลางให้มีความหนาไม่มาก พอดีๆ
4.   ปรับเสียง low mid (250-900 Hz.) ให้เสียงอิ่มขึ้น
5.   ปรับเสียงความถี่ต่ำขึ้นมาให้มีความหนักพอควร อย่ามากไป
6.   เพิ่มความถี่เสียงสูง  เพื่อให้ฟังดูแล้วเสียงโปร่งขึ้น ฟังสบาย  ไม่อับทึบ 

เมื่อ ก่อนบางคนปรับ Equalizer เป็นรูปปีกนก, รูปท้องช้าง หรือรูปอะไรก็แล้วแต่  มันใช้ไม่ได้ครับ  เพราะเราไม่ได้เน้นที่รูปทรงแต่เราเน้นที่ความถี่ของเสียงแต่ละความถี่
ข้อ ควรจำ  การปรับ  Equalizer  ควรจะลดมากกว่าเพิ่มเพื่อจะได้มาซึ่ง band width ซึ่งสัมพันธ์กับค่า Q  (band width = Frequency/Q) และเกี่ยวเนื่องกับ phase  ยิ่งเพิ่มขึ้นมากเท่าใด phase shift ก็จะมากตามไปด้วย
   เสียงร้องจะอยู่ประมาณ 1,000 Hz.
เสียง 100-500 Hz.  ถ้ายกมากเกินไปเสียงจะบวม
เสียง 2,000-4,000 Hz.  จะทำให้เสียงแข็ง

ผม เคยใช้สัญญาณ pink noise จากแผ่น CD ผ่าน  แล้วใช้  หู ฟังเอาแล้วค่อยปรับ Equalizer โดยลดความดังของ volume ลงมาประมาณ 7/35 ของ volume ทั้งหมด  แต่ตั้งอาศัยสถานที่เงียบจริงๆ แล้วค่อยปรับ Equalizer ที่ 5 ความถี่ของวิทยุ  ความถี่ไหนที่ดังก็ลด  อันไหนเบาก็เพิ่ม  แต่ควรจะลดก่อนเพิ่ม  ทำให้เราเพิ่มไม่มาก (ย่านความถี่ต่ำ)  ผลปรากฏว่า  ฟังได้พอสมควรเพราะ หู  ไม่ใช่เครื่อง Spectem Analyzer นี่ครับ!!!
สำหรับ การปรับเสียงนั้น ผมเคย write CD ในชุดรวมความถี่เสียงให้กับน้องบอมแล้ว   ซึ่งในนั้นจะมีสัญญาณ pink noise รวมอยู่ด้วย เพื่อเป็นแนวทางในการปรับ Equalizer

บทความนี้คงจะอำนวยประโยชน์ให้กับเพื่อนๆ พี่น้องได้ไม่มากก็น้อย  วันนี้เอาแค่นี้ก่อนนะครับเพราะผมจิ้มดีดตัวบรรจง ในคราวต่อไปจะอธิบายถึงเรื่องการคำนวณค่า Q นะครับ!!! 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น